วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันจันทร์ที่ 19 มกราคม 2558
เวลาเรียน 11.30-15.50





ความรู้ที่ได้รับ

 ในวันนี้ต้นชั่วโมงอาจารย์ให้นักศึกษาดู วีดีโอ เรื่อง ด.ช. ช ช้าง 

 ด.ช. ช ช้าง  



  จากการดูวิดีโอสามารถสรุปได้ว่า การที่เราเป็นครู เราไม่ควรตัดสินผลงานของเด็กจากอายุ เพราะเด็กบางคนมีความสามารถและศักยภาพที่แตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน ครูควรที่จะดูผลงานก่อนๆว่าเด็กมีความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหรือไม่ ไม่ควรตัดสินเด็กด้วยผลงานแต่ควรดูจากการทำกิจกรรม ระหว่างการทำกิจกรรม และสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง คือ การพูดเสียงดังข่มขู่ให้เพื่อนๆในห้องเรียนเกิดความกลัวว่า ต้องเข้าข้างครู เพราะจะทำให้เด็กเกิดความเสียใจที่ครูและเพื่อนๆไม่เชื่อในสิ่งที่ตนเองทำ จะเกิดปัญหาต่างๆมากมายเมื่อเด็กเติบโตขึ้นมา เช่น ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าแสดงออกถึงความสามารถของตนเองเพราะกลัวว่าทุกคนจะไม่เชื่อในฝีมือของตนเอง เป็นต้น เพราะฉะนั้นการที่เราเป็นครูเราต้องมีความยุติะรรม มีคุณธรรมและจริยธรรม ต้องนึกถึงจรรยาบรรณของครู

 อาจารย์สอนในเรื่องของ ความหมายและความสำคัญของศิลปะ ? ซึ่งศิลปะ คือ ศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้นมาจากความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความงามและความพึงใจ
การที่เราจะจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ต้องมีพื้นฐานทางการศึกษาในเรื่องของศิลปะสร้างสรรค์ เพราะการจัดประสบการณ์จะมีผลต่อการเรียนรู้แก่เด็กมากขึ้นและจะช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี


ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด
เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์
ความมีเหตุผล
การแก้ปัญหา

ความสามารถของสมองแบ่งออกเป็น 3 มิติ
มิติที่ 1 เนื้อหา
มิติที่ 2 วิธีการคิด
มิติที่ 3 ผลของการคิด 

ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์เป็น 5 ขั้น
1.ขั้นการค้นพบความจริง
2.ขั้นการค้นพบปัญหา
3.ขั้นตั้งสมมุติฐาน
4.ขั้นการค้นพบคำตอบ
5.ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ

วงจรการขีดๆเขียนๆของ เคลล็อก เป็นออก 4 ขั้นตอน
ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย 
ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง
ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ
ขั้นที่ 4 ขั้นวาดแสดงเป็นภาพ


กิจกรรมในห้องเรียน

    มือน้อยสร้างสรรค์ 

ผลงานของตัวเอง

รวมผลงานของเพื่อนๆในห้อง

สาระน่ารู้
-ในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ครูไม่ควรปิดกลั้นความคิดของเด็ก
-ไม่ควรชมเชยเด็กคนในคนหนึ่ง แต่ควรชมเชยเด็กๆทุกคน
-อย่าใช้ความชอบส่วนตัวในการตัดสินผลงานของเด็กแต่ละคน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนก่อนเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังและจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมที่อาจารย์สอน และร่วมทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้ มีความสุขสนุกสนานกับการทำกิจกรรมคะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายอย่างเต็มที่ ทุกคนมีความสุขกับการทำงานและร่าเริงแจ่มใสคะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะสุภาพ ตั้งใจสอนนักศึกษาเป็นอย่างดีพร้อมกับยกตัวอย่างและสรุปเนื้อหา มีความอดทนสูง สอนสนุกสนานคะ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น